นิทาน นกกานดาเบอรุนดา (Gandaberunda) อวตารร่างที่ 4 ของนรสิงห์

กุมภาพันธ์ 22, 2025
นิทาน นกกานดาเบอรุนดา

นิทาน นกกานดาเบอรุนดา (Gandaberunda) หรือรู้จักในชื่อ “คันธภรณ” เป็นนก 2 หัวในตำนานเทพฮินดู ซึ่งอยู่ในรูปนรสิงห์ ซึ่งเป็นอวตารร่างที่ 4 ของพระวิษณุ ส่วนข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ตำนาน, ลักษณะ, พลัง สามารถศึกษาต่อได้ที่ด้านล่าง

ที่มาของ นิทาน นกกานดาเบอรุนดา มีชื่ออื่นอีกไหม

นิทาน นกกานดาเบอรุนดา ถูกเรียกด้วยชื่อไม่เหมือนกันตามภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็น เบรุนดา (Berunda) หรือภีรุนดา (Bherunda) ซึ่งแปลว่า วีรบุรุษผู้น่ากลัว ส่วนชื่ออื่นอย่าง ครุฑธวาชะ (Garudadhvaja) แปลว่า มาตรฐานของครุฑ โดยเกี่ยวข้องกับพาหะศักดิ์สิทธิ์ ของพระวิษณุ [1]

โดนคำว่า กานดาเบอรุนดา หรือกันดาเบอรุนดา มาจากการรวมกัน ของภาษาสันสกฤต 2 คำ คือ กันดา หมายถึง ความงาม และคำว่าเบอรุนดา หมายถึง สองหัว

ตำนานกานดาเบอรุนดา มีความเป็นมาอย่างไร?

ตำนานเล่าว่า… หลังจากที่นรสิงห์ สังหารกษัตริย์อสุระ หิรัณยกศิปุ แล้วผ่าท้องก่อนจะเผาพร้อมอสุระอื่นๆ จากนั้นนรสิงห์เดินทางไปยัง ที่ประทับของพระวิษณุ ซึ่งในคัมภีร์ไวษณพและไศวะ เล่าว่าเหล่าเทพคิดว่านรสิงห์ จะทำลายโลกขณะต่อสู้กับหิรัณยกศิปุ

จึงไปขอความช่วยเหลือ จากพระวิษณุและพระศิวะ พระวิษณุแปลงกายเป็นคันธภรณ สัตว์ที่มีศีรษะเป็นนกอินทรี 2 หัว ซึ่งคืออีกร่างหนึ่งของนรสิงห์ ส่วนพระอิศวรแปลงเป็นสัตว์ครึ่งสิงโตครึ่งนก โดยต่อสู้กันเป็นเวลา 18 วัน ก่อนท้ายที่สุด คันธภรณจะรับร่างแท้จริง ของพระวิษณุและพระศิวะ กลับไปสู่สวรรค์ของตน [2]

แต่อีกแหล่งข้อมูลกล่าวว่า พระอิศวรแปลงร่างเป็น “ศรภ” แล้วฝึกนรสิงห์ให้เชื่องได้ และเกิดโกรธจัดจึงทำลายทุกสิ่ง ส่งผลให้พระวิษณุแปลงร่างเป็นกานดาเบอรุนดา แล้วมาฝึกศรภให้เชื่องอีกที

การพรรณนาถึงนกยักษ์ฮินดู หน้าตาเป็นแบบไหน

นิทาน นกกานดาเบอรุนดา
  • นกอินทรีสองหัว
  • ถือช้างไว้ 2 ตัวในกรงเล็บ และจะงอยปาก
  • บางตำราพรรณนาว่า ถืองูไว้ในจะงอยปาก
  • ขนหางยาวเหมือนนกยูง ตั้งแต่สีฟ้า เขียว และแดงสด
  • ดวงตาดุร้าย ปีกขนาดใหญ่ แต่ละหัวเคลื่อนไหวได้แบบอิสระ

พลังของกานดาเบอรุนด้า มีอะไรบ้าง

กานดาเบอรุนดา ขึ้นชื่อว่ามีความแข็งแกร่ง และพลังลึกลับ อยู่ในฐานะผู้พิทักษ์จักรวาล หัวทั้งสองของมัน คอยเตือนถึงภัยอันตราย สามารถทำลายล้างหรือฟื้นฟูความสงบ ซึ่งในการต่อสู้ทุกครั้ง มันจะเป็นผู้ชนะตลอด เชื่อมโยงถึงความเป็นอมตะ

การใช้คันธภรณ ทางโหราศาสตร์เป็นยังไง

  • ตัวแทนของโลกคู่ขนาน : ช่วยให้เติบโตทางจิตวิญญาณ มีแรงบันดาลใจ ป้องกันพลังงานเชิงลบ
  • ความสำเร็จในการแข่งขัน : ผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการงานหรือชีวิต
  • การเงินรุ่งเรือง : เชื่อว่าอวยพรให้ความมั่งคั่ง ลงทุนด้วยความฉลาด มีโชคเรื่องเงินทองมากขึ้น
  • ความสัมพันธ์ที่สามัคคี : ช่วยทำให้ความสัมพันธ์ทุกด้านสมบูรณ์แบบ ทั้งฟื้นฟูและเติมเต็ม
  • ชัยชนะเหนือคู่กรณี : โดยเฉพาะในทางกฎหมาย ช่วยให้ได้รับการตอบสนอง จากศาลอย่างรวดเร็ว

ส่วนวิธีใช้ที่แนะนำ ไม่ว่าจะเป็น ใช้เป็นจี้, สวมใส่ด้วยทองคำ 22/24 กะรัต ประดับด้วยอัญมณี เชื่อว่าทรงพลังที่สุด นอกจากนี้ ยังใช้เป็นภาพติดผนัง โดยเฉพาะติดไว้บนทิศตะวันออก-ตะวันตกเฉียงเหนือ จะช่วยให้เจริญและมีชีวิตที่อุดมสมบูรณ์ รวมไปถึงใช้เป็นภาพวอลล์เปเปอร์ เชื่อว่ามีคุณสมบัติช่วยรักษา และเปลี่ยนให้มือถือกลายเป็นเครื่องราง

ที่มา: 6 astrological benefits of Gandaberunda [3]

ความสำคัญของนกอินทรียักษ์ และการใช้งานเป็นยังไง

นิทาน นกกานดาเบอรุนดา

ตราสัญลักษณ์ รัฐกรณาฏกะ (Karnataka)

ใช้เป็นตราประจำรัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย โดยสามารถพบได้หลายแบบ โดยเฉพาะในสถานีขนส่ง หรือตั๋วที่ออกโดยรัฐบาล

เทศกาล Dasara

เป็นเทศกาลท้องถิ่นของรัฐกรณาฏกะ โดยจะประดับภาพจำลองนกอินทรียักษ์ ไว้บนพระราชวังไมซอร์ (Mysuru) และใช้เป็นส่วนสำคัญของขบวนแห่ ซึ่งบางครั้งเรียกว่า เทศกาลแห่งแสงสว่าง [4] หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Travel and Tour World

การใช้งาน

  • หัวหน้าชนเผ่า เช่น Chalukya, Hoysalas, Keladi ใช้นกในรูปแบบต่างๆ ทั้งลวดลายบนตราสัญลักษณ์ ตราประทับ หรือใช้เป็นคำนำหน้า
  • กษัตริย์หลายองค์ เช่น Kadambas, Vijayanagara, Wadiyar ผลิตเหรียญที่ประทับด้วยภาพของนก
  • ประติมากรรมชิ้นแรก ย้อนไปเมื่อปี ค.ศ. 1047 ตั้งอยู่ที่ Shiralakoppa ภายใต้การดูแลของ Chalukyas รูปร่างคล้ายมนุษย์ มีขาและแขน 2 ข้าง ถูกบูชาในนามของเบอรุนเดชวารา
  • วัดในเมืองเบลูร์ มีรูปปั้นกานดาเบอรุนดา กำลังสังหารศรภ
  • ในเมืองติรุจิรัปปัลลิ มีรูปปั้นที่เชื่อว่า เป็นตัวแทนการมาเยือนของกษัตริย์ Hoysala Ballala II
  • ภาพแกะสลักในวัดราเมศวรัม [5]

สรุป นิทาน นกกานดาเบอรุนดา - Gaṇḍabheruṇḍa

นิทานเรื่องนกกานดาเบอรุนดา เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้าฮินดู ซึ่งเชื่อว่าเป็นอวตารร่างที่ 4 ของพระวิษณุ หรือรูปลักษณ์นรสิงห์ มีหัวนกสองหัว คาบช้างไว้ในปากและกรงเล็บ ถูกใช้เป็นตัวแทนสุดแข็งแกร่ง การต่อสู้เหนือชัยชนะ และชีวิตคงกระพัน

สัญลักษณ์ของกานดาเบอรุนดา คืออะไร

  • สัญลักษณ์ความแข็งแกร่ง พลังมหาศาล และกล้าหาญ
  • ตัวแทนผู้ไกล่เกลี่ย ระหว่างเทพเจ้ากับมนุษย์
  • มักใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์อินเดีย หรือราชการ

เรื่องราวของกานดาเบอรุนดา ในยุโรปมีหรือไม่

ในอดีตพบนกชนิดนี้ บนศิลปะฝาผนัง ที่เมืองเปอร์เซโปลิส ย้อนกลับไปในยุคของอารยธรรมฮัคคาน (Hakkan) ปัจจุบันคืออิหร่าน และอีกหนึ่งภาพถูกจารึกไว้ ในเมืองโบกาซคอย หรือตุรกีในปัจจุบัน ซึ่งมีอายุประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล

ส่วนภาพต่อมาคือนกสองหัว ที่จับกระต่ายสองตัวไว้ในกรงเล็บ พบในวิหารของชาวฮิตไทต์ อายุย้อนไปในศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสตกาล ต่อมาเล่ากันว่า นกลักษณะนี้เป็นสัญลักษณ์ของจักรวรรดิกรีก-โรมัน โดยครั้งหนึ่งอาณาจักรคริสเตียน รวมตัวกันในยุโรป แล้วใช้สัญลักษณ์นกเพื่อทำสงคราม กับผู้บุกรุกจากอิสลาม

อ้างอิง

[1] Mythlok. (2021-2025). ชื่ออื่นๆ. Retrieved from mythlok

[2] Wikipedia. (January 20, 2025). Legend. Retrieved from en.wikipedia

[3] The Times of India. (November 30, 2023). 6 astrological benefits of Gandaberunda. Retrieved from timesofindia.indiatimes

[4] Mythical Encyclopedia. (2025). Regional Significance. Retrieved from mythicalencyclopedia

[5] Deccan Herald. (November 23, 2019). Puranic connection. Retrieved from deccanherald

อะไรที่ได้มาด้วยความพยายามของตัวเอง มันจะไม่มีทางหลุดมือไปง่ายๆ
Pgslot-logo
เว็บเดิมพันอันดับ 1 คาสิโนสดออนไลน์ เสมือนอยู่ในคาสิโนจริง มีรูปแบบการเดิมพันมากมาย Pgslot สล็อตออนไลน์ ทำกำไรง่าย ได้เงินจริงจากเว็บตรง เว็บเดียวจบ จากค่ายดัง ทั่วทุกมุมโลก รองรับทุกระบบทั้งคอมพิวเตอร์และมือถือ ฝาก - ถอน อัตโนมัติทุกขั้นตอน เว็บเดิมพันที่ดีที่สุดในประเทศไทย
Pgslot-logo
เว็บเดิมพันอันดับ 1 คาสิโนสดออนไลน์ เสมือนอยู่ในคาสิโนจริง มีรูปแบบการเดิมพันมากมาย Pgslot สล็อตออนไลน์ ทำกำไรง่าย ได้เงินจริงจากเว็บตรง เว็บเดียวจบ จากค่ายดัง ทั่วทุกมุมโลก รองรับทุกระบบทั้งคอมพิวเตอร์และมือถือ ฝาก - ถอน อัตโนมัติทุกขั้นตอน เว็บเดิมพันที่ดีที่สุดในประเทศไทย
Pgslot-homeหน้าหลักPgslot-promotionโปรโมชั่นlogo-QA-teamPgslot-registerสมัครสมาชิกPgslot-กิจกรรมกิจกรรม