เนื้อหา ตะกรับหน้าแดง หรือ ปลาตะกรับหน้าแดง (Red Scat) จัดเป็นปลาน้ำจืดเหมือนกันกับ ปลาแบล็คไทเกอร์ ที่อยู่ในตระกูล Scatophagus เป็นปลาพบได้ตามแนวชายฝั่งเกือบทุกแห่ง ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และเป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำจืด และอยู่ในน้ำตื้นได้ ซึ่งหมายความว่า พวกมันจะย้ายถิ่นฐานไปมาระหว่างน้ำจืด ซึ่งวันนี้ เราจะพาคนที่ชื่นชอบเลี้ยงสัตว์น้ำ ไปทำความรู้จักกับพวกมันมากขึ้น
เนื่อหา ตะกรับหน้าแดง พร้อมประวัติ
ปลาตะกรับหน้าแดง และมีชื่อทวินาม เรียกกันว่า Scatophagus argus (Linnaeus, 1766) ปลาน้ำจืดที่อยู่ในวงศ์ Scatophagidae ปลาชนิดนี้มีถิ่นกำเนิด ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ไปจนถึงญี่ปุ่น นิวกินี และออสเตรเลียตะวันออกเฉียงใต้ ปลาชนิดนี้อาศัยอยู่ ในบริเวณชายฝั่งที่มีโคลน เช่น ปากแม่น้ำ ป่าชายเลน ท่าเรือ และแม่น้ำสายล่าง เป็นปลาตู้ที่นิยมเลี้ยง
อีกทั้ง ปลาสายพันธุ์ดังกล่าว ยังได้รับการอธิบาย อย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อในปี 1766 โดย Carl Linnaeus ในชื่อ Chaetodon argus โดยมีการระบุถิ่นกำเนิดเป็นอินเดีย และช่วงในปี 1831 Georges Cuvier ได้อธิบายถึงสกุล Scatophagus และกำหนดให้ C. argus ของ Linnaeus เป็นสปีชีส์ต้นแบบ ชื่อเฉพาะ argus อ้างอิงถึงผู้พิทักษ์แห่ง Io ที่มีดวงตาร้อยดวงในตำนาน [1]
ราคา ปลาตะกรับหน้าแดง
โดยราคาของปลาชนิดนี้ มีการขายตามตลาดสวยงามในประเทศของเรา โดยทั่วไปแล้วราคาขายปลา จะมีราคาขายเริ่มต้น 180 บาทขึ้นไป ซึ่งมักจะมีการแบ่งขายเป็นแพ็ก หรือแบ่งขายเป็นเซทละ 2 ตัว หรือ 5 ตัว ขึ้นอยู่กับขนาดไซส์ [2] และหากท่านใดสนใจแล้ว ทุกท่านสามารถเข้าไปอ่าน รายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ Scatophagus argus
คำถามเกี่ยวกับปลา
- การใช้ชีวิตของปลาเป็นอย่างใด : โดยธรรมชาติแล้ว ปลาจะชอบอยู่ร่วมกันเป็นฝูงเล็กๆ อาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่ง ที่มีโคลนตมเป็นหลัก รวมทั้งปากแม่น้ำ ป่าชายเลน ท่าเรือ และแม่น้ำสายล่าง
- วิธีการให้อาหารเป็นแบบไหน : ปลาชนิดนี้กินอาหารหลากหลาย และกินเศษซากพืช ยกตัวอย่างเช่น สาหร่ายเส้นใย แพลงก์ตอนพืช พืชน้ำขนาดใหญ่ แพลงก์ตอนสัตว์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อยู่ตามพื้นทะเล
- การสืบพันธุ์ของปลาเป็นยังไง : ปลาชนิดนี้สามารถผสมพันธุ์ได้ง่ายมาก พบได้ในน่านน้ำชายฝั่ง ของอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา ญี่ปุ่น และตาฮีตี รวมถึงชายฝั่งทางตอนเหนือ ของออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และชายฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เนื้อหา ตะกรับหน้าแดง ได้รับความนิยมจากอะไร?

ปลาสายพันธุ์ดังกล่าว เป็นปลาได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีสีสันสวยงาม และมีรูปร่างกลม ลำตัวสูง และมีครีบหลังเป็นหนามแหลม ซึ่งว่ากันว่ามีสารพิษอยู่เล็กน้อย นอกจากนี้ พวกมันมีเส้นแนวตั้งพาดตามลำตัว โดยเมื่ออายุน้อย เส้นเหล่านี้จะค่อยๆ หายไป และมีจุดสีดำมากขึ้น
รูปร่าง ปลาตะกรับหน้าแดง
ปกติแล้วลักษณะของปลาชนิดนี้ เป็นปลาที่มีรูปร่างกลม ลำตัวสูง และมีครีบหลังแหลมคม ซึ่งเชื่อกันว่ามีสารพิษอยู่บ้างเล็กน้อย มีเส้นแนวตั้งพาดยาวลงมาครึ่งหนึ่งของลำตัว เป็นสีดำ ส่วนที่เหลือของลำตัวมีจุดต่างๆ ปกคลุม เมื่อปลาโตขึ้น ลายทางจะค่อยๆ หายไป และจะมีจุดต่างๆ ขึ้นแทน โดยจะมีสีแดงจนถึงสีทับทิมเมื่อพวกมันยังอายุน้อย เมื่อพวกมันโตขึ้น เส้นเหล่านี้จะหายไปและจุดต่างๆ ก็จะ เด่นชัดมากขึ้น [3]
ข้อมูลโดยรวมสายพันธุ์ ตะกรับหน้าแดง
- โดเมน : Eukaryota
- อาณาจักร : Animalia
- ไฟลัม : Chordata
- ชั้น : Actinopterygii
- อันดับ : Acanthuriformes
- สปีชีส์ : S. argus
- ที่มา : สามารถพบในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
- สัดส่วน : ความยาวได้ประมาณ 35 เซนติเมตร (13.77 นิ้ว)
- ระดับการดูแล : ง่าย
- คุณภาพน้ำ : ค่า pH ควรอยู่ที่ 7.0 – 8.0
- อุณหภูมิ : อุณหภูมิเหมาะสมสำหรับปลา อยู่ที่ 20 – 30 องศา (68 / 86°F)
- การผสมพันธุ์ : ออกลูกเป็นไข่
สรุป เนื้อหา ตะกรับหน้าแดง “Red Scat”
สรุป ปลาสายพันธุ์ดังกล่าว เป็นปลาที่สามารถนำมา ปรับสภาพเลี้ยงในน้ำจืดได้ นิยมเลี้ยงในตู้พรรณไม้น้ำ เพื่อกำจัดตะไคร่น้ำ เพราะเป็นปลากินตะไคร่ได้เก่งมาก มีลักษณะลำตัวสั้นแบนข้าง และกว้างมาก มีสีพื้นลำตัวแตกต่างกันไป ตามลักษณะแหล่งอาศัยที่พบ บริเวณหัว และหลังเป็นสีแดงหรือเหลือบส้มๆ จึงเป็นชื่อเรียกว่า “ตะกรับหน้าแดง”
ความแตกต่างของปลาชนิดนี้
โดยความแตกต่างระหว่างเพศ และพฤติกรรมการผสมพันธุ์นั้น ไม่ทราบแน่ชัด การเปลี่ยนแปลงจากน้ำกร่อย เป็นน้ำเค็มอย่างค่อยเป็นค่อยไป จะทำให้สีสันและสุขภาพของปลาดีขึ้น เมื่อปลามีอายุมากขึ้น ควรให้อาหารของปลาด้วยผักเป็นหลัก โดยให้กินเนื้อสัตว์บ้างเป็นครั้งคราว ให้สาหร่ายแห้ง ผักกาดหอม สาหร่ายทะเล อาหารเกล็ดคุณภาพดี และกุ้งน้ำเค็มเป็นครั้งคราว
ปลาชนิดนี้มีความสำคัญ ทางการค้าหรือไม่?
ปลาชนิดนี้ยังคงมีความสำคัญ ทางการค้าเพียงเล็กน้อย มักขายในตลาดท้องถิ่น บนเกาะอินโด-แปซิฟิก และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจับปลาด้วยอวนและกับดัก พบปลาชนิดนี้ในตลาดปลามีชีวิต ในฮ่องกง (Lee and Sadovy 1998) ปลาชนิดนี้เป็นอาหารอันโอชะ ในฟิลิปปินส์ ปลาวัยอ่อนจะถูกรวบรวม เพื่อการค้าขายในตู้ปลา
อ้างอิง
[1] Wikipedia. (January 5, 2025). Scatophagus argus. Retrieved from en.wikipedia
[2] Shop.line. ปลาตะกรับหน้าแดง. Retrieved from shop.line
[3] Fishkeeper. (2025). Red Scat. Retrieved from fishkeeper